วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ลิ๊งค์ผลงานนักศึกษา ปี 60

Link ไปยังผลงาน WebBlog นิสิต ป.โท ภาคพิเศษ รหัส 60
16014650580นายกิตติพงศ์ เลิศศิริกรณ์เดชา
26014650601นายชัยภักดิ์ จำนงค์ชอบ
36014650610นายณัฏฐชัย หอมบุญ
46014650636นางสาวณัฐศมน อรรถาวี
56014650644นายดนุพล นิโอ๊ะ
66014650652นางสาวดวงกมล มูลจันทร์
76014650661นางสาวทาริกา คัดชา
86014650679นายธนพล กัณหสิงห์
96014650687นางสาวนาตยา ปุริโต
106014650709นางสาวปภาวี พิมพ์อุบล
116014650717นางสาวปวีณา ทองเอม
126014650733นางสาวปัณณธร ไกลถิ่น
136014650741นางสาวปาลญา สุวาส
146014650750นางสาวพรพรรณ รื่นอารมย์
156014650768นางสาวพรรณปพร วานิชเอี๋ยวสกุล
166014650776นางสาวพิมพิศา สหะวรกุลศักดิ์
176014650784นางสาวเฟื่องฟ้า จารย์ลี
186014650792นางสาวภรภัทร ชัยสุริยะเดชา
196014650806นางสาวภาวิน สารสมุทร
206014650814นางสาวยุวดี แย้มเกษร
216014650822นางสาววันวิสาข์ สงวนสัตย์
226014650857ว่าที่ร้อยตรีสหรัฐ พลอยศรีธรรมชาติ
236014650865นางสาวสุธาทิพย์ บุญเทียม
246014650873นางสาวสุภาพร เอี่ยมสอาด
256014650881นายสุรพิชญ์ วงศ์น้อย
266014650890นางสาวสุริศา วารุณ
276014650903นายเอกลักษณ์ ธะประสพ
286014651535นางสาวกัญญาวีร์ เทียนขุน
296014651543นางสาวกัลยาณี พูลทรัพย์
306014651551นางสาวชนากานต์ เอี่ยมสำอางค์
316014651560นายชนาธิวัฒน์ สืบศักดิ์
326014651578นางสาวณัฐกมล ระภานุสิทธิ์
336014651586นายธนวัฒน์ นิ่มน้อย
346014651594นางสาวนิศาชล มิ่มกระโทก
356014651608นางสาวบุษยมาศ บุญเจริญ
366014651616นายประวิทย์ นาคมอญ
376014651624นางสาวพัชราภรณ์ พลพิทักษ์
386014651632นางสาวมนัสนันท์ สระบัว
396014651641นางสาวโรสนี เฉลิม
406014651659นายวรธรรม หนูประดิษฐ์
416014651667นายวรพล สายโสภา
426014651675นางสาววรรณรวี วงษ์ทอง
436014651683นายวาสิษฐ์ จันทร์มีชัย
446014651691นางสาววิมลเมธ สีสุกไสย
456014651705นางสาวแววตา ชุ่มอิ่ม

วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การวิเคราะห์องค์กร SWOT วัดอมรินทราราม

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ภายในของโรงเรียนวัดอมรินทราราม  (SWOT)

โรงเรียนวัดอมรินทราม (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร)
          ตั้งอยู่เลขที่ 566/1 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ ฯ 10700
วิสัยทัศน์
          ภายใน พ.. 2562 โรงเรียนวัดอมรินทราราม  มุ่งเน้นวิชาการ ก้าวทันเทคโนโลยี  มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล  บนพื้นฐานคุณธรรมจริยธรรมและความเป็นไทย  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ
          1.  จัดกระบวนการเรียนรู้  ให้ผู้เรียนมีความรู้  ความสามารถตามมาตรฐานสากล  มีทักษะการใช้
               เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม  สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการอย่างยั่งยืน
          2.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรมและความเป็นไทย นำความรู้และค่านิยมหลัก 12 ประการ
               น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  สู่การดำรงชีวิต
         
3.  พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ  โดยยึดหลักการบริหารใช้โรงเรียนเป็นพื้นฐานและ
               การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
          4.  ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา  ให้มีความรู้  ความสามารถตามาตรฐาน
               วิชาชีพ
          5.  พัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และประสานความร่วมมือ ระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน
               และสร้างเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
         
ประเด็นยุทธศาสตร์      
          1.  พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีทักษะการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สู่ความเป็น
               เลิศทางวิชาการ
          2.  พัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี โดยนำ     ความรู้ ค่านิยมหลัก 12 ประการและน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง    
          3.  พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ  โดยยึดหลักการบริหารใช้โรงเรียนเป็นฐานและการ
               มีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
          4.  ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้  ความสามารถตามมาตรฐาน
               วิชาชีพ
          5.  พัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และประสานความร่วมมือ ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
               ตลอดจนสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
เป้าประสงค์
          1.  นักเรียนมีความรู้  ความสามารถตามมาตรฐานสากล  มีทักษะการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและ
               เหมาะสม  สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการอย่างยั่งยืน
          2.  นักเรียนมีทักษะชีวิต  มีคุณธรรม  จริยธรรม มีความเป็นไทย  นำความรู้และค่านิยมหลักของ
              คนไทย 12 ประการ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การดำรงชีวิต 
          3.  ครูและบุคลากรทางการศึกษา  มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ
          4.  โรงเรียนมีระบบบริหารการจัดการด้วยระบบคุณภาพ  โดยยึดหลักงานบริหารใช้โรงเรียนเป็นฐาน 
               และมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
          5.  โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้  และประสานความร่วมมือ ระหว่างบ้าน  ชุมชน  และโรงเรียน 
               ตลอดจนสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
กลยุทธ์การจัดการศึกษา
     1.) กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา
          1.  พัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและอาเซียน
          2.  พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และความเป็นไทย
          3.  พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพยึดหลักการมีส่วนร่วม
          4.  พัฒนาครูและบุคลากรให้มีคุณภาพตามสมรรถนะตรงตามสายงาน  และมีวัฒนธรรมการทำงาน
               ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
          5. พัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้

     2.) กลยุทธ์ระดับกลุ่มงาน
          1.  พัฒนาหลักสูตรตามแนวปฏิรูปการศึกษา  มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและอาเซียน
          2.  สนับสนุนกิจกรรมลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้ตามหลักองค์  แห่งการเรียนรู้
          3.  ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม  มีความเป็นไทย มีอัตลักษณ์และคุณลักษณะอันพึง                ประสงค์
          4.  ปลูกฝังค่านิยมหลัก  12  ประการ
          5.  ส่งเสริมให้นักเรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต
          6.  ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน  โดยใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัย
          7.  พัฒนาระบบบริหารด้วยระบบคุณภาพโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม
          8.  พัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียนให้สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
               และยั่งยืน
          9.  พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา  เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
          10. สนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ  เทคโนโลยี  และการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการ
                สื่อสาร
          11. สร้างขวัญกำลังใจให้กับครูและบุคลากรภายในสถานศึกษา
          12. ส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนในด้านทักษะทางวิชาการ
          13. ส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนในการใช้ทักษะภาษาอังกฤษในการเรียนรู้  เพื่อนำไปใช้ใน
                ชีวิตประจำวัน

การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียนวัดอมรินทราราม ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน
ได้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก  โดยพิจารณาด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ  วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในด้าน ผลผลิตและการให้บริการ  บุคลากร  ประสิทธิภาพทางการเงิน  วัสดุอุปกรณ์  และการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในโรงเรียนวัดอมรินทราราม  มีรายละเอียดดังนี้

วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ภายในของโรงเรียน  (SWOT)
จุดแข็ง  (S)
1.  ครูและเจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ มีความรู้  ความสามารถใน
    การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนได้  
    อย่างมีประสิทธิภาพ
2.  โรงเรียนสนับสนุนให้ครูและเจ้าหน้าที่มีการพัฒนาตนเอง
    อยู่อย่างสม่ำเสมออย่างรอบด้าน โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี
    สารสนเทศ
3.  มีการจัดสรรงบประมาณเพียงพอต่อการการบริหารจัดการ
     เทคโนโลยีสารสนเทศภายในโรงเรียน


จุดอ่อน (W)
1.  โรงเรียนขาดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้
    ความชำนาญ เฉพาะทาง  ได้แก่  เจ้าหน้าที่ด้าน
    การบริหารจัดการ
    เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.  สถานที่และแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ อุปกรณ์
    โสตทัศนูปกรณ์ภายในโรงเรียนมีจำกัด  ทำให้ไม่เอื้อต่อ
    การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3.  อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์บางชิ้นที่มีอายุการใช้งานก่อน
    ปีการศึกษา 2554 มีประสิทธิภาพต่ำเมื่อต้องใช้งานกับ
     โปรแกรมใหม่ๆ ในปัจจุบัน เครื่องมือบางส่วนใช้ประโยชน์
     ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ  และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
     มีประสิทธิภาพต่ำ
4.  ครูและบุคลากรส่วนมากในโรงเรียนขาดความชำนาญใน
    การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.  การใช้เทคโนโลยีและสาธารณูปโภคของโรงเรียนมีผลต่อ
    ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นกับทางโรงเรียน
โอกาส (O)
1.  มีกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่ สพป.   
    ประสานงานแลกเปลี่ยนทั้งด้านการจัดการบริหาร
    เทคโนโลยีสารเสนเทศ
2.  ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ และการจัดการอบรม
    ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศจาก สพฐ.

อุปสรรค  (T)
1.  นโยบายรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้
     การดำเนินการด้าน ICT ติดขัด


วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ภายในของโรงเรียน

ด้านโอกาส  จากสภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียนวัดอมรินทราราม มีกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายการเรียนรู้  ทั้งองค์กรขององค์กรการศึกษา ระดับเขตพื้นที่ สพป.กทม. ทำให้เกิดการ ประสานงานแลกเปลี่ยนทั้งด้านการจัดการบริหารเทคโนโลยีสารเสนเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งหน่วยงานภายนอกและต้นสังกัดให้การสนับสนุนบุคลากร ในการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสอนอยู่เสมอ

          ด้านอุปสรรค  นโยบายรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้การดำเนินการด้าน ICT ติดขัด

          ด้านจุดแข็ง   โรงเรียนสนับสนุนให้ครูและเจ้าหน้าที่มีการพัฒนาตนเองอยู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ครูและเจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนให้ดีมากยิ่งขึ้น มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่น เสียสละในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีการจัดสรรงบประมาณเพียงพอต่อการการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในโรงเรียน

          ด้านจุดอ่อน   โรงเรียนขาดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความชำนาญ เฉพาะทาง  ได้แก่ เจ้าหน้าที่ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันผู้ที่ดูแลการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคือครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ เนื่องจากครูมีภาระหน้าที่สอน จึงทำให้ไม่สามารถดูแลและพัฒนาการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์บางชิ้นมีอายุการใช้งานก่อนปีการศึกษา 2554 มีประสิทธิภาพต่ำเมื่อต้องใช้งานกับโปรแกรมใหม่ๆ ในปัจจุบัน เครื่องมือบางส่วนใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ  ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีประสิทธิภาพต่ำ สถานที่และแหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียนมีจำกัด ห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอสำหรับการเรียนการสอนในบางรายวิชา ครูและเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ในโรงเรียนขาดความชำนาญในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  การใช้เทคโนโลยีและสาธารณูปโภคของโรงเรียนมีผลต่อค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นกับทางโรงเรียน


จัดทำโดย
นายดนุพล  นิโอ๊ะ                   รหัสนิสิต 6014650644
นางสาวกัญญาวีร์  เทียนขุน        รหัสนิสิต 6014651535
นางสาวนิศาชล  มิ่มกระโทก        รหัสนิสิต 6014651594
นางสาวโรสนี  เฉลิม                รหัสนิสิต 6014651641
สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

งานกลุ่ม

การวิเคราะห์องค์กร  ด้านเทคโนโลยี SWOT    >>คลิ๊กที่นี่<<
โครงการกลุ่ม     >>คลิ๊กที่นี่<<
แปลบทความอังกฤษ  >>คลิ๊กที่นี่<<

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

SWOT กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


อ้างอิง
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560. วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา : http://iptv.most.go.th/website/about/index/2. 15 สิงหาคม 2560.

วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างปัญญาในสังคม สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน
พันธกิจ/ภารกิจหลัก
1. เสนอแนะนโยบาย และจัดทำยุทธศาสตร์/ แผนด้าน วทน. โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ริเริ่ม เร่งรัด ผลักดันและดำเนินการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
3. ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ สร้างคนดีและคนเก่งในทุกระดับ รวมทั้งสร้างความตระหนักด้าน วทน.ให้แพร่หลาย  และเป็นที่ยอมรับกับทุกภาคส่วนของประเทศ
4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสนับสนุนและกลไกด้านต่างๆ ที่เอื้อต่อการสร้างปัญญา และการนำองค์ความรู้ทางด้าน วทน.ไปใช้เพิ่มคุณค่ากับภาคการผลิต รวมถึงภาคสังคม
5. สนับสนุนให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรมให้แก่ภาคการผลิตและบริการ รวมทั้งบริการสังคมด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
 ค่านิยม
MOST :
M = Merit & Modernization (สร้างสรรค์สิ่งดีงาม และ ทันสมัยอยู่เสมอ)
O = Outcome-Oriented (มุ่งประโยชน์ของชาติเป็นหลัก)
S = Social Accountability (มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม)
T = Transparency & Teamwork (โปร่งใสตรวจสอบได้ และ มีการทำงานร่วมกันทั้งองค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน)




อ้างอิง
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560. วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา : http://iptv.most.go.th/website/about/index/2. 15 สิงหาคม 2560.


Organization Development

Organization Development

การพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือที่นิยมเรียกกันว่า  OD เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารและพัฒนาองค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหาก้าวทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

องค์ประกอบหลักของการพัฒนาองค์กร  (Organization Development )
1.      มีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์
แม้ว่าปัจจุบันเทคนิคการพัฒนาองค์กรได้ขยายตัวและบูรณาการเข้ากับเทคนิคการบริหารอื่นๆ  เช่นการบัญชีและการเงิน การปรับปรุงเทคโนโลยีสำนักงานและการดำเนินการ เป็นต้น  แต่ไม่ว่าเราจะพัฒนาองค์กรไปในรูปแบบใดเราก็ต้องประยุกต์โดยการนำความเข้าใจและหลักทางสังคมศาสตร์และมนุษย์สัมพันธ์มาประยุกต์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทิศทางที่ต้องการ
2.      ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมาชิกขององค์กร
โดยหลักการเชื่อว่ามนุษย์ทุกคน มีความสามารถและต้องการจะมีสภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และบรรยากาศที่สร้างความพอใจในการทำงาน และพร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้า และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
3.      เพิ่มความสามารถในการทำงานขององค์กร

การพัฒนาองค์กร  จะศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในระดับต่างๆ ขององค์กร  ตั้งแต่ระดับบุคคล หน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น




การพัฒนาองค์กร (OD)  จะแตกต่างจากหลาย ทฤษฏีที่เคยศึกษา เพราะว่า  OD จะเป็นทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบองค์กรอย่างมีแบบแผนเพื่อให้องค์กรสามารถแก้ไขปัญหาและมีการพัฒนาการอย่างเหมาะสมโดยที่การพัฒนาองค์กรจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานขององค์กร


สาเหตุที่องค์กรต่างๆ ต้องทำการพัฒนา
          1.  ความซับซ้อนและความหลากหลายขององค์กร
          การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าในสังคมปัจจุบัน ทำให้องค์กรหลายแห่งต้องปรับตัวจนมีโครงสร้างที่ซับซ้อน และมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น  ซึ่งเราจะเห็นรูปแบบการปรับตัวในระดับต่างๆ เช่น การรื้อปรับระบบ  (Reengineering)  การแตกออกเป็นหน่วยธุรกิจย่อย  (Business Unit)  การลดระดับการบังคับบัญชา  (Delayering)  หรือการลดขนาดองค์กร  (Downsizing)  เป็นต้น  ทำให้มีการปรับเปลี่ยนระบบและวิธีการทำงาน  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบุคลากรที่ปฏิบัติทั้งในเชิงกายภาพและจิตใจ  ทำให้ฝ่ายบริหารไม่เพียงแต่ต้องตัดสินใจเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร  แต่จะต้องสามารถวางแผนและทำการพัฒนาองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ทั้งบุคคลและองค์กร
          2.  พลวัตของสภาพแวดล้อม
          การขยายตัวและเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง เทคโนโลยี และโลกาภิวัตน์  ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานต่างๆ เช่น ลูกค้า คู่แข่งขัน ต่างก็มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของทั้งองค์กรและบุคลากร  ประกอบกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับมหภาคของประเทศ  ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของประชากร  ได้สร้างแรงผลักดันให้องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวและดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของแรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น
          3.  ความยืดหยุ่นและการตอบสนองต่อปัญหา
          องค์กรต้องมีความยืดหยุ่นต่อแรงกดดันและสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของสภาพแวดล้อม  อาจสร้างโอกาสหรืออุปสรรคให้แก่องค์กรได้  โดยโอกาสและอุปสรรคที่เกิดขึ้นอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างจากอดีต ทำให้องค์กรต้องสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างเป็นระบบและตรงประเด็น ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความพร้อมขององค์กร ในการรับรู้และตระหนักถึงปัญหา  การวิเคราะห์สาเหตุ และการแก้ไขที่ถูกต้อง ผ่านทางทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ  และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง กลุ่ม องค์กร และสภาพแวดล้อมอย่างดี
4.  แรงผลักดันของเทคโนโลยี
          ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทัดเทียมหรือเหนือกว่าองค์กรอื่นๆ มิเช่นนั้นก็จะถูกคู่แข่งขันแซงหน้า และอาจจะต้องออกจากการแข่งขันไปในที่สุด ซึ่งเราสมควรให้ความสนใจกับเทคโนโลยีด้านต่างๆ ดังนี้
                    4.1  เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information Technology)  หรือ IT  ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง อุปกรณ์สื่อสาร และระบบ Internet  จะเป็นกลจักรสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพ และความคล่องตัวให้แก่องค์กร ผ่านระบบการจัดการข้อมูลที่เหมาะสม ที่ช่วยให้การตัดสินใจแก้ไขปัญหามีความถูกต้องและเหมาะสมกับข้อจำกัดของสถานการณ์
                    4.2  เทคโนโลยีการผลิตและการปฏิบัติงาน  (Production/Operations Technology)  เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพ และผลผลิตสูงขึ้น  ตลอดจนช่วยในการปฏิบัติงานของบุคคลให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity)  ในการดำเนินงานของธุรกิจ
                    4.3  เทคโนโลยีการบริหารงาน  (Management Technology)  เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ และการควบคุม เช่น  Benchmarking  การบริหารคุณภาพโดยรวม  (Total Quality Management : TQM )  หรือ การรื้อปรับระบบ  (Reengineering)  เป็นต้น  โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งโครงสร้างและการทำงานขององค์กรให้ก้าวหน้าและทันสมัย  ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน
                    เราจะเห็นว่า พัฒนาการและการใช้งานเทคโนโลยีทั้งสามด้านอย่างเหมาะสมจะมีอิทธิพล  และช่วยเร่งการพัฒนาผลิตภาพ  (Productivity)  รวมขององค์กร   ดังนั้นการที่เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง และลงตัวจะต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่เพียงแต่มีความรู้ในงานที่ตนทำ  แต่จะต้องสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร โดยสามารถประสานประโยชน์และสร้างสมดุลระหว่างงานและระบบให้ได้อย่างเต็มที่
          5.  การตื่นตัวด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
                   นอกจากแรงผลักดันของกระแสการดำเนินงาน และปัจจัยแวดล้อมภายนอก ดังที่กล่าวมาแล้ว   ผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ยังจะต้องตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม  ลูกค้าและพนักงาน  โดยเฉพาะพนักงานซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอันดับหนึ่งขององค์กร ที่สมควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และมีมนุษยธรรม  เพื่อให้เขามีความพอใจ และเต็มใจปฏิบัติงานที่ตนได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถและเสียสละให้แก่องค์กร โดยพร้อมจะปฏิบัติงานอื่นที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการทำงานของตน  เพื่อให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
                   เราจะเห็นได้ชัดว่า  พลวัต ความซับซ้อน และความเกี่ยวข้องกันของปัจจัยแวดล้อมและแรงผลักดันภายในองค์กร นับเป็นสาเหตุของปัญหาและโอกาสในการอยู่รอดและเจริญเติบโตขององค์กร  ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องกล้าตัดสินใจอย่างกล้าหาญ และเด็ดขาดที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กร ก่อนที่เหตุการณ์เล็กๆ จะลุกลามเป็นปัญหาร้ายแรงต่อไป

กระบวนการพัฒนาองค์กร
ปัจจุบันการพัฒนาองค์กร(OD) ได้รับการยอมรับในความสำคัญและนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรต่างๆมากขึ้นทั้งที่นำไปประยุกต์โดยตรงหรือใช้งานในรูปแบบอื่นๆ  ทำให้มีการพัฒนาองค์กรในมิติต่างๆให้ก้าวหน้าขึ้น  อย่างไรก็ตาม การทำ OD ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาทุกอย่างของธุรกิจและพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าได้ทุกกรณี ทำให้นักบริหารที่ไม่เข้าใจหลักการของ OD เกิดความคาดหวังที่เกินจริง (Over Expectation) และเมื่อ OD ไม่สามารถช่วยให้องค์กรของตนแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด ก็โทษว่า OD ไร้ประสิทธิภาพและหันไปใช้เทคนิคอื่นแทน   ดังนั้น ก่อนที่เราจะศึกษารายละเอียดของการพัฒนาองค์กร   เราควรทำความเข้าใจหลักการของ OD เพื่อที่จะสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้งานจริง  โดยเริ่มต้นจากกระบวนการพัฒนาองค์กร ( OD Process ) ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังนี้


ขั้นตอนที่ 1     การวินิจฉัยองค์กร (Organization Diagnosis)
          หลังจากที่ผู้บริหารตระหนักถึงปัญหาที่องค์กรประสบอยู่หรือมองเห็นโอกาสในการพัฒนาองค์กร เขาก็จะแต่งตั้งผู้ที่มีอำนาจพัฒนาองค์กร (OD Team) ให้ทำการศึกษา ทำความเข้าใจและอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และเสนอแนะวิธีการพัฒนาองค์กรในอนาคต
ขั้นตอนที่  2    การกำหนดกลยุทธ์และวางแผนพัฒนาองค์กร ( Establish OD Strategy and Implementation Plan )
          ทีมงานพัฒนาองค์กรนำข้อมูลจากการวินิจฉัยองค์กร มากำหนดแผนพัฒนาองค์กรเลือกเทคโนโลยีและระดับในการพัฒนาองค์กรและร่างแผนปฏิบัติงาน ( Action Plan ) เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่ต้องการซึ่งจะต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และเป็นขั้นตอน โดยพิจารณาภาพรวมขององค์กร เพื่อให้แผนปฏิบัติการสามารถบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร และสร้างผลงานที่สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
ขั้นตอนที่ 3     การนำกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรไปประยุกต์ (OD Intervention)
หรือการแทรกแซงการพัฒนาองค์กร จัดเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวในการพัฒนาองค์กร โดยมีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำแผนการพัฒนาองค์กร  ที่มีการวางแผนปฏิบัติงาน ตารางกิจกรรม กำหนดตารางเวลา และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน ตลอดจนมีการเตรียมพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาอยู่ตลอดเวลาโดยไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น
ขั้นตอนที่ 4    การประเมินการพัฒนาองค์กร (OD Evaluation)
          เป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรที่ช่วยในการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนาองค์กรว่าสอดคล้องกับเป้าหมาย เกณฑ์ และมาตรฐานที่กำหนดไว้เพียงใด ตลอดจนจะต้องมีการแก้ไขและปรับปรุงอย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ขณะเดียวกันก็จะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของทีมงานพัฒนาองค์กรที่จะได้รับข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อปรับปรุงตนเองให้สามารถทำการพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้นในอนาคต
 จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้และความเข้าใจในกรอบความคิด และหลักการของ OD ย่อมจะช่วยให้ผู้บริหาร และพนักงานสามารถปฏิบัติงานที่ตนได้รับมอบหมายด้วยความเข้าใจ และสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อองค์กร  ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนมีการพัฒนาการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
แนวทางในการเปลี่ยนแปลง
          จากการศึกษาเราอาจจะสรุปได้ว่า  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กรจะมีอยู่  3  ลักษณะ  คือ
                   1.  การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ  (Revolutionary  Change)
                   เป็นการเปลี่ยนแปลงที่หวังผลอย่างฉับพลันทันที  ซึ่งผู้บริหารมักจะใช้อำนาจและสั่งให้พนักงานปฏิบัติตามที่ตนต้องการ  โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกหรือความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง  และมักจะเป็นการกระทำตามความต้องการของฝ่ายบริหารเพียงฝ่ายเดียว  เช่นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง  ระบบงาน  และโครงสร้างองค์กร  เป็นต้น  การปฏิวัติอาจจะมีผู้ต่อต้านมาก  เพราะผลจากการเปลี่ยนแปลงอาจจะสร้างความไม่พอใจ  และความรู้สึกขัดแย้งระหว่างสมาชิกกลุ่มต่าง ๆได้   ซึ่งจะก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจ  ความขัดแย้ง  และไม่ให้ความร่วมมือในอนาคต
                   2.  การเปลี่ยนแปลงแบบมีวิวัฒนาการ (Evolutionary Change)
                   เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป  อย่างช้า ๆ    ที่เรียกได้ว่าเกือบจะอยู่ตรงกันข้ามกับวิธีการปฏิวัติ      โดยปกติการเปลี่ยนแปลงแบบวิวัฒนาการในองค์กรจะไม่ก่อให้เกิดความตื่นเต้นหรือประหลาดใจมากนักในหมู่สมาชิก    เพราะการเปลี่ยนแปลงจะค่อย ๆเกิดขึ้น  ทำให้ผู้คนปรับตัวตามโดยไม่รู้สึกตัวว่ามีการเปลี่ยนแปลง   นาน ๆ ครั้งจึงจะปรากฏว่าไปกระทบกระเทือนต่อผู้เกี่ยวข้องสักครั้ง
                   3.  การเปลี่ยนแปลงแบบวางแผน  (Planned  Change)
                   เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำอย่างเป็นระบบ  เพราะมีการศึกษา  วิเคราะห์  และวางแผนไว้ล่วงหน้า  ซึ่งจะช่วยให้องค์กรเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างเป็นขั้นตอน  และมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีอื่น โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเข้ามาร่วมมือกับฝ่ายบริหารในการเปลี่ยนแปลง 
                   อย่างไรก็ดี  การเปลี่ยนแปลงแบบวางแผนอาจจะได้รับการต่อต้านจากบุคคลทั่วไปเหมือนกัน  แต่น้อยกว่าวิธีการปฏิวัติ  เนื่องจากทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจะมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการเปลี่ยนแปลง  ประการสำคัญการวางแผนเปลี่ยนแปลงจะต้องมีผู้นำที่เข้าใจอนาคต  มีวิสัยทัศน์  และคิดอย่างเป็นระบบ  ตลอดจนสามารถประสานงานและสื่อความเข้าใจกับสมาชิกได้ทุกคน  มิเช่นนั้นอาจเสียเวลา  และทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงาน
                   เราจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ  จะขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารขององค์กรนั้นต้องการจะนำรูปแบบใดมาใช้  ซึ่งเขาจะต้องตัดสินใจโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น  โดยเลือกใช้การเปลี่ยนแปลงได้อย่างถูกต้อง  และเหมาะสมตามสภาพของสิ่งแวดล้อม  และปัจจัยต่างๆในองค์กร    ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ดีจากสมาชิก  หรืออาจก่อให้เกิดความไม่เข้าใจ  และแรงต้านต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ซึ่งผู้บริหารและตัวแทนการเปลี่ยนแปลง  จะต้องทำการศึกษาถึงผลกระทบที่สะท้อนกลับมาอย่างรอบคอบ  และหาแนวทางและวิธีแก้ไข  เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงองค์กรสามารถก้าวไปข้างหน้าและประสบความสำเร็จได้

การประยุกต์ใช้
  หาข้อดีข้อเสียขององค์กร  แล้วนำมาแก้ไข  สิ่งไหนดีก็ทำให้ดีขึ้น  สิ่งไหนยังไม่ดีก็ปรับปรุงให้ดีขึ้น  โดยให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องนำงานที่สรุปมาช่วยกันวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย สิ่งที่ต้องปรับปรุงและร่วมกันคิดในเรื่องที่ต้องการพัฒนา  นำเสนอต่อผู้บริหารเพื่อเป็นเป็นครื่องมือช่วยวางแผนและตัดสินใจในการพัฒนาองค์กร  ให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์และประสบผลสำเร็จต่อไป





อ้างอิง

การพัฒนาองค์กร(OD).2558.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก www.lib.ubu.ac.th/qa-km/wp-content/uploads/2009/02/learn2.doc (วันที่สืบค้น 31 ส.ค. 2560)